ใครที่ไม่อยากมีรอยแผลเป็น แนะนำให้อ่านยทความนี้ ป้องกันการเกิดรอยแผลเป็นซะตั้งแต่ตอนนี้ เพราะถ้าเป็นแล้วอาจจะรักษาให้หายเป็นปกติได้ยาก

ป้องกันการเกิดรอยแผลเป็นได้อย่างไร ?

เริ่มต้นกันตั้งแต่ตอนที่เรายังเป็นแผลอยู่ใหม่ๆ สิ่งที่เราควรทำคือ นวดบริเวณนั้น โดยการนวดควรนวดหรือกดแบบสม่ำเสมอ ในช่วง 3 เดือน ถึง 6 เดือน การนวดและกดบริเวณนั้นอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้แผลเป็นไม่ขยายขนาดมากขึ้น แต่ในบางกรณีเช่น แผลเป็นที่เกิดจากน้ำร้อนลวกหรือแผลเป็นที่เกิดจากไฟไหม้จะเป็นแผลเป็นที่มีขนาดใหญ่ อาจจะต้องใช้อุปกรณ์หรือผ้ารัดช่วย

การใช้ผ้ารัด หรือ Pressure garment เป็นการสวมใส่เพื่อรัดบริเวณที่เป็นรอยแผลเป็น อย่างเช่น บริเวณใบหน้า บริเวณขา แขน มือ หรือช่วงลำตัว ซึ่งจะใช้ในช่วง 6 เดือน – 1 ปี หลังจากที่เป็นรอยแผล และสามารถนวดเพื่อช่วยให้แผลไม่ขยายขนาดใหญ่ขึ้น และช่วยลดการเกิดรอยแผลเป็นได้
ประเภทของแผลเป็น มีกี่ชนิด ?

แผลเป็นที่เราเป็นอยู่นั้นรู้หรือไม่ว่า เป็นชนิดไหน เพราะโดยทั่วไปแล้วแผลเป็นมีอยู่หลายแบบด้วยกัน ซึ่งแบ่งออกได้เป็นประเภทหลักๆ 3 รูปแบบ ดังนี้

1. แผลเป็นที่มีลักษณะเป็นรอยบุ๋มลึกลงไป ( Depressed scar) แผลเป็นลักษณะนี้จะมีร่อง หรือรอยบุ๋มลึกลงไปในผิวหนัง
2. แผลเป็นที่ลักษณะเป็นรอยนูน ลักษณะรอยนูนนี้จะมี 2 แบบคือ คีรอยด์ รอยแผลเป็นจะนูตและโตเกินขอบเขตของรอยแผลเดิม ซึ่งรอยแผลเป็นจะขยายใหญ่กว่ารอยแผลค่อนข้างมาก และแผลเป็นนูนเกิด รอยแผลเป็นนี้จะมีลักษณะนูน แต่ไม่ขยายใหญ่เกินขอบเขตของรอยแผลเดิม ในช่วงแรกๆ จะมีอาการคัด มีรอยแดงและคัน
3. แผลเป็นที่มีการดึงรั้ง (Scar Contracture) แผลเป็นลักษณะนี้จะมีการดึงรั้งซึ่งอาจทำให้อวัยวะบริเวณที่แผลมีรูปที่ผิดปกติ

แผลเป็นทั้ง 3 แบบนี้ สีของแผลเป็นอาจมีสีที่เข้ม หรืออ่อนกว่าผิวปกติก็เป็นได้

แผลเป็นนูน เกิดจากอะไร ?

หลายๆ คนอาจสงสัยหรือเกิดคำถามขึ้นในใจว่า เวลาเป็นแผลแล้วทำไมต้องร่องรอยของแผลเป็นไว้ให้นึกถึงเสมอ แม้แต่ทางการแพทย์เองก็ยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน แต่สาเหตุที่เกิดรอยแผลเป็นขึ้นนั้น อาจเกิดขึ้นจากเป็นแผลบริเวณที่มีความตึงของผิวหนัง อาทิเช่น บริเวณข้อศอก ข้อต่อ หัวเข่า หรือบริเวรตรงกลางหน้าอก

แผลเป็นคีลอยด์เกิดจากอะไร ?

โดยส่วนมากจะพบว่าผู้ที่มีผิวสีเข้ม มักจะเป็นแผลคีลอยด์ ส่วนบริเวณที่มักแผลคีลอยด์ก็คือ หัวไหล่ กลางหน้าอก และติ่งหู และจากการตรวจสอบพบว่าส่วนหนึ่งมีประวัติทางผู้ที่พ่อแม่เป็นแผลคีลอยด์ สาเหตุของการเกิดแผลคีลอยด์ เกิดจากการที่ร่างกายสร้างคอลลาเจนในปริมาณที่มากกว่าปกติ